ตามที่อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2015 ซึ่งจะมีผลให้มีการเปิดเสรีด้านการค้า บริการ และการลงทุน เช่น ลดภาษีระหว่างกันให้เหลือศูนย์ ยกเลิกข้อจำกัดการประกอบการค้าบริการ และปฏิบัติเยี่ยงคนในชาติต่อนักลงทุนอาเซียนนั้น การรวมตัวดังกล่าวจะส่งผลให้ตลาดภายในประชาคมเปิดกว้างสำหรับสินค้าจากประเทศสมาชิกซึ่งรวมถึงสินค้าเกษตร เช่น ผักและผลไม้ ประเทศไทยอาจมีข้อได้เปรียบหรือเสียเปรียบในการส่งออก และ/หรือนำเข้าผลไม้ระหว่างประเทศอาเซียน ซึ่งยังมีรายละเอียดของกฎระเบียบข้อบังคับตลอดจนวัฒนธรรมในประเทศสมาชิกอีกมากที่จะส่งผลต่อการได้เปรียบหรือเสียเปรียบ นอกจากนั้นการเปิดเสรีด้านการลงทุน จะทำให้นักลงทุนทั้งไทยและอาเซียนเข้าไปลงทุนในประเทศสมาชิก และส่งสินค้ากลับไปขายในประเทศของตัวเอง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเกษตรกรในประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันต่ำ ยิ่งไปกว่านั้นอาจมีการปลอมหรืออ้างชื่อสินค้าของแต่ละประเทศเพื่อโอกาสในการค้า จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยถึงโอกาสและอุปสรรคต่าง ๆ ของไทยให้ทันต่อการรวมตัวดังกล่าว ในอดีตมีตัวอย่างของการเปิดการค้าเสรีระหว่างไทยกับจีน ในกรอบข้อตกลงสินค้าเกษตรประเภทผลไม้ แม้ว่าจีนจะอนุญาตให้นำเข้าผลไม้จากประเทศไทยได้ 23 ชนิด ก็ตาม แต่จีนก็ยังมีมาตรการ ทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTB) ซึ่งเข้มงวด เช่น ภาษีของแต่ละมณฑล การตรวจสอบคุณภาพ มาตรฐานด้านสุขอนามัยโรคพืชและแมลง
ลำไยซึ่งถือเป็นผลไม้ไทยที่มีศักยภาพในการส่งออกไปจีนมากที่สุด ในขณะนี้ ก็ยังประสบปัญหาในเรื่องสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด นอกจากนั้นผลไม้ไทยที่ส่งไปขายในจีนส่วนใหญ่ทำการค้าภายใต้กลไกที่ผู้ประกอบการจีนเป็นผู้กำหนด ในขณะที่การนำเข้าผลไม้จากจีนเข้าประเทศไทยเป็นไปอย่างเสรีตลอดเส้นทางการตลาด การลดภาษีภายใต้ FTA ไทย-จีน จึงให้ประโยชน์กับประเทศไทยไม่มากเท่าที่ควร ดังนั้น ฝ่ายเกษตร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย จึงเห็นสมควรสนับสนุนโครงการวิจัยเพื่อวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคจากการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะกระทบต่อเกษตรกรและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับผักและผลไม้ของไทยนอกจากนี้ภาครัฐของประเทศเวียดนามก็มีความเข้มแข็งและนโยบายชัดเจน มีการวางแผนการผลิตและสนับสนุนการเข้าสู่ระบบ GAP ในขณะที่ภาครัฐของประเทศไทยไม่มีการสนับสนุนอย่างจริงจังและไม่มียุทธศาสตร์เพื่อการแข่งขัน ขาดการรวมตัวกัน