โอกาสและอุปสรรคของการตลาดผักและผลไม้ไทยในอาเซียน


อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2015 ซึ่งจะมีผลให้มีการเปิดเสรีด้านการค้า บริการ และการลงทุน เช่น ลดภาษีระหว่างกันให้เหลือศูนย์ ยกเลิกข้อจำกัดการประกอบการค้าบริการ และปฏิบัติเยี่ยงคนในชาติต่อนักลงทุนอาเซียนนั้น การรวมตัวดังกล่าวจะส่งผลให้ตลาดภายในประชาคมเปิดกว้างสำหรับสินค้าจากประเทศสมาชิกซึ่งรวมถึงสินค้าเกษตร เช่น ผักและผลไม้

ประเทศไทยอาจมีข้อได้เปรียบหรือเสียเปรียบในการส่งออก และ/หรือนำเข้าผลไม้ระหว่างประเทศอาเซียน ซึ่งยังมีรายละเอียดของกฎระเบียบข้อบังคับตลอดจนวัฒนธรรมในประเทศสมาชิกอีกมากที่จะส่งผลต่อการได้เปรียบหรือเสียเปรียบ นอกจากนั้นการเปิดเสรีด้านการลงทุน จะทำให้นักลงทุนทั้งไทยและอาเซียนเข้าไปลงทุนในประเทศสมาชิก และส่งสินค้ากลับไปขายในประเทศของตัวเอง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเกษตรกรในประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันต่ำ ยิ่งไปกว่านั้นอาจมีการปลอมหรืออ้างชื่อสินค้าของแต่ละประเทศเพื่อโอกาสในการค้า จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยถึงโอกาสและอุปสรรคต่าง ๆ ของไทยให้ทันต่อการรวมตัว

การเปิดการค้าเสรีระหว่างไทยกับจีน ในกรอบข้อตกลงสินค้าเกษตรประเภทผลไม้ แม้ว่าจีนจะอนุญาตให้นำเข้าผลไม้จากประเทศไทยได้ 23 ชนิด ก็ตาม แต่จีนก็ยังมีมาตรการ ทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTB) ซึ่งเข้มงวด เช่น ภาษีของแต่ละมณฑล การตรวจสอบคุณภาพ มาตรฐานด้านสุขอนามัยโรคพืชและแมลง

ลำไยซึ่งถือเป็นผลไม้ไทยที่มีศักยภาพในการส่งออกไปจีนมากที่สุด ในขณะนี้ ก็ยังประสบปัญหาในเรื่องสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด นอกจากนั้นผลไม้ไทยที่ส่งไปขายในจีนส่วนใหญ่ทำการค้าภายใต้กลไกที่ผู้ประกอบการจีนเป็นผู้กำหนด ในขณะที่การนำเข้าผลไม้จากจีนเข้าประเทศไทยเป็นไปอย่างเสรีตลอดเส้นทางการตลาด การลดภาษีภายใต้ FTA ไทย-จีน จึงให้ประโยชน์กับประเทศไทยไม่มากเท่าที่ควร การวิจัยเพื่อวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคจากการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะกระทบต่อเกษตรกรและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับผักและผลไม้ของไทย โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

1. เพื่อให้ทราบช่องทางตลาดผักและผลไม้ของประเทศอาเซียนที่เป็นคู่ค้าหลัก
2. เพื่อให้ทราบข้อจำกัด โอกาสการนำเข้า/ส่งออก การลงทุนต่างๆ นอกเหนือจากภาษีนำเข้าที่จะลดเป็นศูนย์ในปี 2558 ต่อการส่งออก/นำเข้าผักผลไม้ไทยไปประเทศอาเซียน
3. เพื่อคาดการณ์ผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบแก่เกษตรกรผู้ปลูกผักและผลไม้ไทย
4. เพื่อให้ได้คำแนะนำสำหรับเกษตรกรและผู้ประกอบการไทย เพื่อปรับตัวให้ทันในปี 2558

This entry was posted in สินค้าและบริการ and tagged . Bookmark the permalink.

Comments are closed.