การเลือกรับประทานผักและผลไม้ตามฤดูกาล

76765397-Copy-600x399เมืองไทยจัดเป็นแหล่งกำเนิดทรัพยากรธรรมชาติที่มีความหลากหลาย และยังคงอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ สำหรับผักและผลไม้ขอเมืองไทยนั้นก็จัดว่ามีความหลากหลายทั้งชนิดและสายพันธุ์เช่นกัน ทั้งเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศและสายพันธุ์ที่นำเข้ามาเพาะขยายพันธุ์ได้ดี ในหนึ่งปีเมืองไทยจึงมีพืชผักผลไม้รับประทานกันได้ทั้งปี และปัจจุบันบางชนิดยังสามารถหารับประทานกันได้ตลอดทั้งปีอีกด้วย โดยเฉพาะผักเกือบทุกชนิดที่เป็นผักเศรษฐกิจ ส่วนผักพื้นบ้านอาจจะต้องไปซื้อตามท้องถิ่นนั้นๆ เพราะเมื่อมีผลผลิตที่น้อยจึงทำให้การกระจายสินค้าในตลาดจะค่อนข้างแคบ สำหรับผลไม้ก็จะมีบางชนิดเช่นกันที่มีให้รับประทานกันได้ตลอดทั้งปี เช่น ส้ม สับปะรด มะละกอ ฯลฯ ส่วนบางชนิดที่มีแม้ปัจจุบันจะมีให้รับประทานกันได้ตลอดทั้งปี แต่ควรเลือกรับประทานกันตามฤดูกาลจะดีกว่า เช่น ทุเรียน เงาะ ลองกอง ลิ้นจี่ ฯลฯ

การเพาะปลูกพืชนอกฤดูกาลจะทำให้พืชมีโอกาสถูกรบกวนจากศัตรูและโรคพืชได้มากกว่าการเพาะปลูกในฤดูกาล ทั้งนี้เนื่องมาจากในช่วงเวลาดังกล่าวพืชเหล่านี้จะเป็นอาหารที่เหลืออยู่เพียงไม่กี่ชนิด ทำให้ดึงดูดศัตรูพืชชนิดต่างๆ ดังนั้นถ้าจะให้เก็บเกี่ยวได้ผลผลิตในปริมาณที่คุ้มค่าต่อการลงทุน เกษตรกรจะต้องใช้สารเคมีในรูปของปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชเป็นจำนวนมาก ซึ่งการใช้สารเคมีเหล่านี้จะทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม และมีผลโดยตรงต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค ด้วยภาวการณ์แข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้หลายๆคนต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอย่างไม่รู้ตัว ยิ่งมีให้เลือกเยอะก็ยิ่งตามใจปาก เมื่อผู้บริโภคตอบสนองในทางธุรกิจ ผู้ผลิตก็จะยิ่งได้ใจเร่งผลิตอย่างไม่คำนึงถึงผลกระทบที่ตามมา

ข้อดีของการเลือกรับประทานผักและผลไม้ตามฤดูกาล จะช่วยทำให้เราสามารถซื้อผักและผลไม้ได้ในราคาซื้อขายที่ไม่แพงนัก ส่วนสาเหตุที่ทำให้ผักบางครั้งมีราคาแพงก็มักจะเป็นผักที่ปลูกนอนฤดู หรือต้องขนส่งมาจากที่ห่างไกล ผักเหล่านี้มีโอกาสปนเปื้อนสารพิษสูง ควรหลีกเลี่ยงผักที่มักปลูกโดยใช้สารพิษมากๆ เช่น ผักคะน้า ต้นหอม ผักชี ฯลฯ จำเป็นต้องล้างจนแน่ใจว่าสะอาดเพียงพอก่อนบริโภค สำหรับผักชั้นดีที่ควรเลือกซื้อเป็นอันดับต้นๆ เพราะปลอดจากสารพิษ เช่น ตำลึง ผักบุ้ง ดอกแค โสน กระถิน และผักพื้นบ้านอื่นๆที่คุ้นเคยกันดี และที่วิเศษสุดก็คือผักที่มาจากริมรั้วและสวนครัวของเราเอง แต่ถึงอย่างไรก็ตามก่อนที่จะนำพืชผลไม้มารับประทานก็ไม่ควรที่จะลืมล้างทำความสะอาดให้ดีเสียก่อน หรือเลือกซื้อจากร้านค้าที่เชื่อถือได้

Posted in สินค้าและบริการ | Tagged , , | Comments Off on การเลือกรับประทานผักและผลไม้ตามฤดูกาล

ลู่ทางและอนาคตของตลาดผลไม้ไทยในจีน

ผู้ประกอบการรายใหม่ที่คิดจะส่งออกผลไม้ไทยมายังจีนจำเป็นที่จะต้องรู้จักวิธีการดูแลและถนอมผลไม้ที่ตนจะนำเข้าเป็นอย่างดี เนื่องจากผลไม้มีอายุสั้น ผู้ประกอบการต้องมีความรู้ ความเข้าใจในตลาดจีนเป็นอย่างดี ต้องรู้ว่าจะนำสินค้าไปขายที่ไหน และต้องหาคู่ค้าที่ดีที่รู้จักผลไม้ไทยและความต้องการของตลาดต่าง ๆ ในจีน อย่างไรก็ตาม ทางที่ดีที่สุดคือ ควรจะ ซื้อมาและขายเอง นอกจากนั้น ควรรู้จักติดตาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตนเองด้วย

จีนยังปิดประเทศไทยมีการส่งออกผักและผลไม้ไปที่ฮ่องกง การขนส่งก็ยังใช้อุปกรณ์ง่าย ๆ คือ เข่งเป็นอุปกรณ์ในการขนส่ง โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวของจีนและฮ่องกงจะมีความต้องการมาก ส่วนฮ่องกงได้ส่งต่อไปจีนหรือไม่นั้นไม่มีใครรู้ สมัยก่อนฮ่องกงนำเข้าผลไม้และผักจากไทยเยอะ เช่น เผือก และผักบุ้ง รวมทั้งผักใบประเภทอื่น ๆ ต่อมาหลังจากจีนทำการเปิดประเทศและปฎิรูปเศรษฐกิจ ชาวจีนมีกำลังซื้อมากขึ้น ของที่ส่งไปฮ่องกงได้มีการส่งออก (Re-export) ต่อไปยังจีน และในช่วงปีหลัง ๆ ก่อนที่จีนจะเข้า WTO ผลไม้ต่าง ๆ อาทิ ทุเรียน และลำไย ที่ไทยส่งไปฮ่องกง มีร้อยละ 50-70 ที่ส่งต่อไปยังจีน ส่วนผักมีการส่งออกน้อยลงมากเพราะในปัจจุบัน จีนสามารถผลิตเองได้มากขึ้น ต่อมาหลังจากที่จีนเข้า WTO และลงนามความตกลง FTA กับไทย การส่งออกผลไม้ไปยังจีนมีปริมาณเพิ่มขึ้น จนปัจจุบันจีนกลายเป็นตลาดผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดของไทย และฮ่องกงก็เปลี่ยนบทบาทจากเดิมที่เป็นตลาดผลไม้ไทยกลายเป็นท่าเรือในการส่งต่อผลไม้ไทยไปยังจีน เนื่องจากผู้รับของร้อยละ 90 อยู่ที่จีน และการที่ผู้ส่งออกเลือกส่งสินค้าไปที่ฮ่องกงก่อน แล้วค่อยส่งต่อไปจีนแม้ว่าค่าใช้จ่ายจะสูงก็ตาม เนื่องจากท่าเรือที่ฮ่องกงมีประสิทธิภาพการดำเนินงานสูงและสามารถเคลียร์สินค้าออกมาได้ง่ายกว่าเข้าไปยังจีนโดยตรง

ปัจจุบันไทยส่งออกผลไม้ไปยังจีนประมาณ 200,000-300,000 ตัน/ปี สินค้าผลไม้ที่จีนอนุญาตให้นำเข้าจากไทยได้มีจำนวน 23 ชนิด ในจำนวนนี้ มีลำไย ทุเรียน มังคุด กล้วยไข่ ส้มโอ ลิ้นจี่ ชมพู่ เงาะ มะม่วง น้อยหน่า และลองกอง ที่ผู้ประกอบการได้นำเข้ามายังตลาดจีนแล้ว ส่วนผลไม้ประเภทอื่น ยังไม่เป็นที่รู้จักในหมู่ผู้บริโภคชาวจีน รวมทั้งผู้ประกอบการนำเข้าในจีนก็ยังไม่มีใบอนุญาตนำเข้าด้วย ทางด้านการขนส่งนั้น ผลไม้ประเภทชมพู่ เงาะ มะม่วง น้อยหน่า และลองกอง จะทำการขนส่งทางเครื่องบิน เนื่องจากเน่าเสียง่าย ส่วนผลไม้ประเภทอื่นส่วนใหญ่จะทำการขนส่งทางเรือ สำหรับสินค้าประเภทผัก มีการส่งออกน้อยมาก เนื่องจากจีนสามารถเพาะปลูกผักได้มากอยู่แล้ว โดยจีนเป็นประเทศผู้ผลิตผักได้มากที่สุดในโลก และหลังจากเปิด FTA กับไทย จีนก็ส่งออกสินค้าผักมายังประเทศไทยเป็นปริมาณมาก

ก่อนเปิดการค้าเสรีอาเซียน-จีน จีนเก็บภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าผักและผลไม้โดยเฉลี่ยร้อยละ 20-25 หลังจากเปิดการค้าเสรีแล้ว จีนปรับลดภาษีนำเข้าเป็น 0% ซึ่งถึงแม้จะมีส่วนช่วยส่งเสริมการส่งออกผลไม้ไทยไปจีน แต่อยู่แค่ในระดับหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากยังมีปัญหาหรืออุปสรรคอื่น ๆ ที่ผู้ประกอบการไทยต้องประสบ อาทิ อุปสรรคด้านการตรวจสอบและกักกันโรค (อุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษีหรือ NTB) ค่าขนส่ง และภาษีมูลค่าเพิ่ม อันที่จริงแล้ว ภาษีนำเข้าไม่ได้สำคัญมากเมื่อเทียบกับความสามารถที่จะนำผลไม้ไปถึงผู้บริโภคด้วยเวลาที่สั้นที่สุด เนื่องจากผลไม้เป็นสินค้ามูลค่าไม่สูงเหมือนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ถึงเก็บภาษีนำเข้าในระดับหนึ่งก็ไม่ได้กระทบต่อราคาขายของสินค้ามาก แต่ผลไม้เป็นสินค้าที่เน่าเสียง่าย หากไปถึงผู้บริโภคช้าก็จะขายไม่ได้ และเกิดความเสียหายต่อผู้ประกอบการมาก ฉะนั้น อุปสรรคโดยเฉพาะด้านการตรวจสอบฯ และการขนส่งถือเป็นปัญหาสำคัญอย่างยิ่งต่อการส่งออกผลไม้ไทย

ผลไม้ที่มีแนวโน้มการส่งออกลดลงได้แก่ ลำไย และลิ้นจี่ โดยลำไยนั้น จีนมีการผลิตมากขึ้น และทางเวียดนามก็ส่งออกมายังจีนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งก็มีการพัฒนาคุณภาพขึ้นด้วยเช่นกัน ส่วนลิ้นจี่นั้น การส่งออกจากไทยมายังจีนลดลงมาก โดยสาเหตุหนึ่งก็เพราะจีนมีพันธุ์ลิ้นจี่ที่ผลิตออกวางตลาดก่อนไทย ทำให้ลิ้นจี่จากไทยขายได้ยากขึ้น สำหรับผลไม้ที่ยังมีแนวโน้มการส่งออกที่ดี ได้แก่ ทุเรียน และมังคุด นอกจากนี้ กล้วยก็เป็นผลไม้ที่มีการส่งออกเรื่อย ๆ โดยตลาดกล้วยไทยในจีน จะเป็นตลาดลูกค้าเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) โดยจะเป็นตลาดผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง เนื่องจากกล้วยไทยมีคุณภาพและราคาสูงสุดในตลาด เมื่อเทียบกับกล้วยจากเวียดนามและฟิลิปปินส์

Posted in สินค้าและบริการ | Tagged , | Comments Off on ลู่ทางและอนาคตของตลาดผลไม้ไทยในจีน

“ผลไม้สด” เป็นกุญแจสำคัญตอบโจทย์ความต้องการในตลาดโลก

การส่งออกผลไม้สด เป็นกุญแจสำคัญในการบุกตลาดต่างประเทศ ซึ่งผลไม้ไทยนับว่าเป็นผลไม้มีคุณภาพสูง ที่คู่แข่งผลไม้ประเภทเดียวกับไทยยากจะเลียนแบบ ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม ฟิลิปปินส์ หรืออินเดีย อีกทั้งผลไม้สดก็เป็นที่ต้องการในตลาดโลก จะเห็นได้จากการนำเข้าผลไม้สด/แห้ง/แช่เย็น/แช่แข็งของตลาดโลก คิดเป็นมูลค่า 105,354 ล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2556 ขณะที่ผลไม้แปรรูปในรูปแบบแช่อิ่ม ฉาบ แยม เยลลี่ กวน ผลไม้ในน้ำเชื่อม ผลไม้กระป๋อง และน้ำผลไม้ ด้านหนึ่งอาจสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลไม้แต่ความต้องการนำเข้าในตลาดโลกมีเพียง 33,354 ล้านดอลลาร์ฯ

แต่เมื่อหันมามองการส่งออกสินค้าผลไม้ของไทย กลับเป็นการส่งออกผลไม้แปรรูปในสัดส่วนที่สูงคิดเป็นร้อยละ 57 ของการส่งออกผลไม้สดและแปรรูปของไทย มีมูลค่า 1,726 ล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2557 ขณะที่การส่งออกผลไม้สดของไทยมีมูลค่า 1,292 ล้านดอลลาร์ฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 43 จึงเป็นโอกาสที่ไทยน่าจะผลักดันการขยายช่องทางการส่งออกผลไม้ไทย ในรูปแบบที่คงความสดและรสชาติเหมือนรับประทานในประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันยังมีการส่งออกไม่มากและบางส่วนเป็นการส่งออกผลไม้ในรูปแบบแห้ง และแช่แข็งทำให้สูญเสียจุดเด่นด้านรสชาติของผลไม้ไทย

ในฝั่งของผู้ผลิตและส่งออกผลไม้โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วที่มีเทคโนโลยีการผลิตและแปรรูปทันสมัยก็ยังเน้นไปที่การส่งออกผลไม้สด/แห้ง/แช่เย็น/แช่แข็ง ซึ่งสร้างรายได้ในสัดส่วนที่สูงกว่าผลไม้แปรรูป ไม่ว่าจะเป็นผู้ส่งออกผลไม้สดตระกูลแอปเปิ้ล เชอร์รี่จากสหรัฐฯ สเปน เนเธอร์แลนด์ รวมทั้งญี่ปุ่นก็ยังให้ความสำคัญต่อคุณภาพผลไม้ ทั้งรูปลักษณ์ และรสชาติที่มีความเฉพาะตัวของความเป็นผลไม้ญี่ปุ่น อาทิ เมล่อนญี่ปุ่น จะเห็นได้ว่าประเทศดังกล่าวดึงจุดเด่นของผลไม้สดมาทำตลาด ขณะที่ผลไม้สดของไทยเมื่อออกสู่ตลาดต่างประเทศก็มีศักยภาพเป็นสินค้าเกรดพรีเมียมที่มีราคาสูงวางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าชั้นนำในต่างประเทศได้อยู่แล้ว ผู้ประกอบการจึงควรเร่งผลักดันการผลิตและการส่งออกผลไม้สดไทยเพื่อแสวงหาโอกาสที่ยังมีอีกมากในตลาดโลก

Posted in สินค้าและบริการ | Tagged | Comments Off on “ผลไม้สด” เป็นกุญแจสำคัญตอบโจทย์ความต้องการในตลาดโลก

ช่องทางการตลาดผักผลไม้ในยุโรป

การทำให้ผักผลไม้ปลอดจากปัญหาสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ขั้นตอนการเพาะปลูก การทำความสะอาดพืชเพื่อบรรจุใส่หีบห่อ และการตรวจสอบ ความสะอาด (ปลอดสารเคมี เชื้อจุลินทรีย์ และแมลงศัตรูพืช) เพื่อเตรียมส่งออกต่อไป ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายนักและมีค่าใช้จ่ายที่สูงเช่นกัน แต่หากส่งออกได้ ก็จะได้ราคาดีมาก เนื่องจากราคาผักผลไม้ไทยในต่างประเทศทุกประเภทล้วนอยู่ในหมวดสินค้าราคาแพง

จุดเด่นของผักไทย โดยเฉพาะกะเพราและโหระพา มีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แม้ในปัจจุบัน มีความพยายามที่จะซื้อเมล็ดพันธุ์พืชของไทยเพื่อไปเพาะในเรือนกระจกภายใน EU เช่น ในเนเธอร์แลนด์เริ่มมีการผลิตและจำหน่ายโหระพาและสะระแหน่แล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่ยังไม่เหมือนกันเสียทีเดียวก็คงเป็นเรื่องกลิ่นนี่เอง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เราควรจะนิ่งนอนใจ เพราะวิทยาการสมัยนี้สามารถใช้พัฒนาในเรื่องต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งเรื่องการเพาะปลูกพืชด้วยเช่นกัน

ขณะเดียวกัน ก็อาจมีประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียหรือแอฟริกาเหนือพยายามผลิตผักผลไม้ประเภทเดียวกับไทยเพื่อส่งออกไป EU เป็นคู่แข่งของไทยด้วย ซึ่งต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดต่อไป

มี 2 ช่องทางหลักๆ ช่องทางแรก คือ การจำหน่ายในร้านชำซึ่งจำหน่ายผักผลไม้ให้ร้านอาหารไทย รวมทั้งผู้บริโภคโดยทั่วไป และช่องทางที่สอง คือ ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่หรือซูเปอร์มาเก็ต ซึ่งมีสาขากระจายหลายแห่ง การส่งออกพืชผักไปร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ประเภทนี้ ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่ร้านค้าปลีกเหล่านี้กำหนดเพิ่มเติมจากหลักการ GAP ซึ่งเพิ่มต้นทุนการผลิต แต่ในขณะเดียวกัน ก็จะมีช่องทางการจำหน่ายที่กว้างขึ้นและจำหน่ายสินค้าได้ในราคาที่สูงขึ้น

ข้อเสียเปรียบที่สำคัญของผักผลไม้ไทยในตลาดยุโรป คือ ต้นทุนในการขนส่ง เนื่องจากผักผลไม้เป็นสินค้าที่เน่าเสียง่าย จึงทำให้การขนส่งทางอากาศเป็นวิธีการขนส่งที่ดีที่สุด แต่ก็มีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้ราคาผักผลไม้ที่จำหน่ายในต่างประเทศแพงตามไปด้วย ซึ่งบางครั้งมีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคเมื่อเปรียบเทียบกับผักผลไม้เมืองร้อนที่มาจากประเทศที่ใกล้ยุโรปมากกว่า อาทิ จากประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน

Posted in สินค้าและบริการ | Tagged | Comments Off on ช่องทางการตลาดผักผลไม้ในยุโรป

เชิญเที่ยวจันทรบุรีในงานเทศกาลผลไม้

ประเทศไทยมีผลผลิตหลากหลายชนิดและออกสู่ตลาดต่อเนื่องได้ตลอดปี โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการทำให้ออกผลผลิตนอกฤดูกาล ในขณะที่ผู้บริโภคในต่างประเทศก็นิยมในรสชาติผลไม้ไทยโดยเฉพาะในเอเชีย เนื่องจากมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นจึงเป็นที่นิยมของตลาด รวมทั้งประเทศไทยมีเทคโนโลยีการผลิตพืชผักผลไม้ค่อนข้างสูงกว่าประเทศคู่แข่งในภูมิภาคที่มีผลิตผลประเภทเดียวกัน จันทบุรี เป็นแหล่งผลิตที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มังคุด จะออกสู่ตลาดในเดือนมีนาคม ส่วนเงาะ ทุเรียน จะออกสู่ตลาดในเดือนถัดมาตามลำดับ สำหรับลองกองคาดว่าจะออกสู่ตลาดมากช่วง กรกฎาคม-สิงหาคม อนึ่งผลไม้ของภาคตะวันออก คือ ทุเรียน มะม่วง มังคุด เงาะ เป็นสินค้าที่ทำรายได้เข้าประเทศเฉลี่ยปีละเกือบ 20,000 ล้านบาท ส่วนผลไม้ภาคใต้ และภาคเหนือจะออกช่วง มิถุนายน-สิงหาคม ทั้ง เงาะ ทุเรียน มังคุด ลำไย สำหรับผลไม้ที่ออกผลผลิตเกือบทั้งปี เช่น สับปะรด ซึ่งส่วนใหญ่จะส่งเข้าโรงงานบรรจุกระป๋อง หรือกล้วย สามารถขายได้ราคาดีในช่วงเทศกาล โดยที่กล้วยหอมราคาขายปลีกสูงถึงหวีละ 90-100 บาท สำหรับแนวทางในการเตรียมการด้านการตลาด

โดยปีนี้จะเน้นกิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตผลไม้คุณภาพ การเพิ่มมูลค่าโดยการแปรรูปจากผลผลิตทางการเกษตร การส่งเสริมด้านตลาดของผลไม้จังหวัดจันทบุรีทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ การจัดจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน ตลอดจนการจัดคอนเสิร์ต กิจกรรมการแสดงบนเวทีกลางและมหรสพต่างๆเพื่อสร้างความสุขแก่ประชาชนตลอด 10 วัน 10 คืน ของการจัดงานประชาสัมพันธ์จังหวัดจันทบุรี ในปีที่ผ่านๆมาจังหวัดจันทบุรีใช้ชื่อการจัดงานว่า “งานสุดยอดของดีเมืองจันท์ มหัศจรรย์วันผลไม้” ซึ่งถือว่าเป็นงานเทศกาลประจำปีที่สำคัญของจังหวัดจันทบุรี

มีการออกร้านจำหน่ายสินค้าของดีเมืองจันท์โดยเฉพาะผลไม้คุณภาพของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร และสหกรณ์การเกษตร, นิทรรศการความรู้ทางการเกษตร, การประกวดผลผลิตและผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตรถนนผลไม้, แข่งกินผลไม้, แข่งกินอาหารทะเล เชื่อมโยงการจัดแสดงและจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับ ที่ศูนย์อัญมณีเมืองจันท์, การจัดแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP, การออกร้านอาหารพื้นเมืองและอาหารทะเล,การประกวดรถประดับผลไม้, ประกวดธิดาชาวสวน, การประกวดผลไม้ที่มีชื่อเสียงของภาคตะวันออก ได้แก่ เงาะ ทุเรียน มังคุด ระกำ สละ กระท้อนพันธุ์ต่าง ๆ, การประกวดสุนัขพันธุ์แสนรู้, การออกร้านจำหน่ายอัญมณี, การแสดงบนเวทีกลาง และกิจกรรมพานักท่องเที่ยวชมและชิมผลไม้สดจากต้นในสวนผลไม้

Posted in สินค้าและบริการ | Tagged | Comments Off on เชิญเที่ยวจันทรบุรีในงานเทศกาลผลไม้

ปัจจัยสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปในเวียดนามภาคเกษตรกรรมของเวียดนาม

21

เวียดนามเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงด้านเกษตรกรรม ด้วยสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เอื้อต่อการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจหลายประเภท ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนภาคเกษตรกรรมอย่างจริงจัง และมีการปฏิรูปภาคเกษตรกรรมอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เวียดนามสามารถก้าวขึ้นเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกผลผลิตทางการเกษตรรายใหญ่ของโลกได้หลายรายการ ทั้งนี้ ผลผลิตทางการเกษตรของเวียดนามส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับไทย ทำให้เวียดนามและไทยเป็นทั้งคู่ค้าและคู่แข่งในตลาดโลก แต่ทั้งสองประเทศมีการขยายความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนอย่างต่อเนื่อง จึงนับเป็นโอกาสของนักลงทุนไทยที่จะเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปในเวียดนาม โดยอาศัยปัจจัยเกื้อหนุนสำคัญ อาทิ อัตราค่าจ้างแรงงานที่ค่อนข้างต่ำ และสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences : GSP) ที่เวียดนามได้รับจากประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป เป็นต้น ขณะที่นักลงทุนไทยมีความสามารถด้านการแปรรูปสินค้าเกษตรเป็นอย่างดี และมีเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง รวมถึงมีการจัดการด้านการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ

ปัจจัยสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปในเวียดนามภาคเกษตรกรรมของเวียดนามได้รับการพัฒนาจนมีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งเป็นผลจากการที่รัฐบาลเวียดนามสนับสนุนให้มีการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรของประเทศ รวมทั้งเร่งยกระดับคุณภาพการผลิตให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ สะท้อนได้จากมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรของเวียดนามที่ขยายตัวแบบก้าวกระโดดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จาก 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2545 เป็น 27.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2555 เวียดนามก้าวขึ้นเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่ของโลกหลายรายการ แม้ว่าในปี 2555 เวียดนามเผชิญปัญหารุมเร้ารอบด้านจนฉุดรั้งให้เศรษฐกิจขยายตัวต่ำสุดในรอบ 13 ปี แต่ศักยภาพในภาคเกษตรกรรมกลับเพิ่มสูงขึ้น สะท้อนได้จากเวียดนามสามารถก้าวแซงหน้าบราซิลขึ้นเป็นประเทศผู้ส่งออกกาแฟ Robusta รายใหญ่อันดับ 1 ของโลก และก้าวแซงหน้าไทยขึ้นเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก รองจากอินเดีย อีกทั้งยังก้าวแซงหน้ามาเลเซียขึ้นเป็นประเทศผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่อันดับ 3 ของโลก รองจากไทยและอินเดีย ขณะเดียวกันเวียดนามยังสามารถรักษาสถานะการเป็นประเทศผู้ส่งออกพริกไทยและเม็ดมะม่วงหิมพานต์รายใหญ่อันดับ 1 ของโลกไว้ได้อย่างเหนียวแน่น

Posted in สินค้าและบริการ | Comments Off on ปัจจัยสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปในเวียดนามภาคเกษตรกรรมของเวียดนาม

ตลาดผักผลไม้อบแห้งของไทยกำลังขยายตัวทั้งตลาดในประเทศ และตลาดส่งออก

“ตลาดผักผลไม้อบแห้งของไทยกำลังขยายตัวทั้งตลาดในประเทศ และตลาดส่งออก เนื่องจากผู้ประกอบการมีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ใน การผลิตสินค้า ตอบสนองความต้องการของตลาดเป็นสินค้าเพื่อสุขภาพ และมีความหลากหลายของสินค้ามากขึ้น โดยเพิ่มความหลากหลายของประเภทผักและผลไม้ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น รวมทั้งยังมีการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายเพื่อกระจายสินค้าให้เข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น โดยการวางจำหน่ายในห้างค้าปลีกสมัยใหม่ และมีการพัฒนารูปแบบและการดีไซน์ บรรจุภัณฑ์ให้มีความสวยงามและทันสมัย รวมทั้งมีการคัดเลือกและพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าโอทอป ซึ่งเป็นการรับรองมาตรฐานการผลิตและรสชาติ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคมากขึ้น ในขณะที่ตลาดส่งออกผลไม้อบแห้งก็มีแนวโน้มเติบโตเช่นเดียวกับตลาดในประเทศ เนื่องจากผู้บริโภคในต่างประเทศหันมาให้ความนิยมบริโภคผลไม้อบแห้งในฐานะขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพ โดยปัจจุบันไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกผักผลไม้อบแห้งมากเป็นอันดับสองของโลก รองจากจีน ซึ่งตลาดส่งออกสำคัญ คือ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตาม ตลาดอาเซียนก็นับว่าเป็นตลาดส่งออกที่น่าจับตามอง เนื่องจากไทยยังมีโอกาสในการขยายการส่งออกไปยังประเทศในอาเซียน อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ผู้ประกอบการผักผลไม้อบแห้งต้องจับตามองด้วย คือ การนำเข้าผักผลไม้อบแห้งที่มีแนวโน้มเติบโตด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะจากจีน และจากประเทศในอาเซียน ที่มีการพัฒนาการผลิตและส่งออกผักผลไม้อบแห้งมากขึ้น โดยเฉพาะฟิลิปปินส์และเวียดนาม

ผู้ประกอบการรายใหญ่ มีการจัดการผลิตที่เป็นระบบ มีมาตรฐานในการผลิต และใช้เทคโนโลยีในการผลิต เพื่อให้ได้มาตรฐานของคุณภาพสินค้าใกล้ เคียงกัน และการบรรจุหีบห่อ มีตรายี่ห้อที่ได้มาตรฐานสากล โดยมีการนำวัตถุดิบในประเทศที่มีการรับซื้อจากเกษตรกร นำมาแปรรูปด้วยขั้นตอนต่างๆ บรรจุหีบห่อที่สวยงามและมีมาตรฐาน โดยตลาดของผู้ประกอบการรายใหญ่เน้นร้านค้าปลีกสมัยใหม่ โดยเฉพาะร้านสะดวกซื้อ เนื่องจากสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ไม่สามารถเดินทางไปยังแหล่งผลิต นอกจากนี้ ลู่ทางการขยายตลาดคือ การส่งออกผักผลไม้อบแห้งที่ส่งออกในปัจจุบัน คือ ทุเรียน กล้วย ขนุน มะม่วง มะละกอ สับปะรด เป็นต้น

ส่วนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งได้แก่บรรดาผู้ประกอบการท้องถิ่นที่มีการประกอบการในลักษณะอุตสาหกรรมในครัวเรือน มีขั้นตอนการผลิตที่ไม่ซับซ้อนมากนัก และใช้วัตถุดิบจากผลผลิตที่ปลูกและเก็บเกี่ยวเอง ดำเนินการแปรรูปตามความชำนาญและได้รับการถ่ายทอดจากในครอบครัวและคนรู้จักใกล้เคียง ซึ่งผู้ประกอบการ ในลักษณะนี้มีอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันยังไม่การรวบรวมสำรวจอย่างครบถ้วน ตลาดของผู้ประกอบการประเภทนี้ ได้แก่ ตลาดชุมชนและตลาดของฝาก ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับแหล่งผลิต เนื่องจากสะดวกต่อการขนส่ง

เดิมผลไม้ที่นิยมนำมาทำเป็นผักผลไม้อบแห้งและอบกรอบนั้นจำกัดอยู่เฉพาะผลไม้ไม่กี่ประเภท เช่น ทุเรียน กล้วย ขนุน มะละกอ เผือก มันเทศ ฟักทอง เป็นต้น กระบวนการแปรรูปเป็นกระบวนการที่ไม่ซับซ้อนและยุ่งยากมากนัก เช่น การทอด การฉาบ การอบแห้งด้วยตู้อบแห้ง(Hot Air Oven) เป็นต้น มีการผลิตตั้งแต่ระดับครัวเรือน ไปจนถึง ระดับอุตสาหกรรมผู้ประกอบการนิยมใช้เครื่องจักรประเภท Drum Dryer เนื่องจากสามารถผลิตได้ในปริมาณครั้งละมากๆ และผลิตได้หลากหลายประเภท โดยยังคงหลักการในกระบวนการ ผลิตที่ใกล้เคียงกับการทอด การฉาบ และการอบ คือ การให้ความร้อนเพื่อทำให้แห้ง โดยมีโครงสร้างต้นทุนและการจัดจำหน่ายในลักษณะเดียวกับการผลิตผักผลไม้อบแห้งวิธีอื่นๆ แหล่งวางจำหน่ายหลักภายในประเภทอยู่บริเวณตลาดของฝากจากสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดต่างๆ ทำให้เกิดข้อด้อยของสินค้าจากลักษณะการผลิตเป็นการผลิตในระดับครัวเรือน และมีผลิตรายเล็กจำนวนมาก ขณะที่สินค้าไม่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ส่งผลให้การแข่งขันมีแนวโน้มรุนแรง รวมทั้งลักษณะตลาดจะแปรตามฤดูการท่องเที่ยว

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีผู้ประกอบการรายใหม่นำนวัตกรรมผักผลไม้อบแห้ง โดยใช้เทคโนโลยีการผลิต Freeze dried และ Vacuum drying ซึ่งเป็นนวัต กรรมถนอมอาหารที่สามารถรักษาทั้งสี กลิ่น รสชาติ และคุณค่าทางอาหาร โดยไม่ได้ใช้ความร้อนและน้ำมันในกระบวนการผลิต เพื่อตอบสนองผู้บริโภคกลุ่มรักสุขภาพ ที่จะบริโภคในลักษณะ ของขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพ มีการดีไซน์บรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม และรักษาคุณภาพของสินค้า รวมทั้งยังมีการเพิ่มประเภทของผักผลไม้อบแห้ง สตรอว์เบอรี่ พีช องุ่น แอปเปิ้ล ซึ่งเป็นการเพิ่ม ความหลากหลายของสินค้า เพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค ทำให้ขนาดตลาดมีแนวโน้มขยายตัว เนื่องจากผลการวิจัยทางการตลาดพบว่าคนไทยนิยมบริโภคผลไม้ต่างประเทศ

Posted in สินค้าและบริการ | Tagged , | Comments Off on ตลาดผักผลไม้อบแห้งของไทยกำลังขยายตัวทั้งตลาดในประเทศ และตลาดส่งออก

บรรจุภัณฑ์ผักและผลไม้สดเพื่อการส่งออก

พืชผักและผลไม้เป็นอาหารที่มีความสำคัญต่อการบริโภคของมนุษย์ เนื่องจากพืชผักและผลไม้มีคุณค่าด้านโภชนาการ นอกจากเป็นแหล่งของวิตามินและแร่ธาตุที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ด้วยตัวเองแล้ว ผักและผลไม้ยังเป็นอาหารที่มีเยื่อ (Fiber) ช่วยในการขับถ่าย ปริมาณน้ำที่แฝงอยู่ภายในผักและผลไม้หลายชนิดทำให้ผู้บริโภครู้สึกสดชื่นจากความกรอบ หอม หวาน เมื่อรับประทานสด ในโลกนี้มีผักผลไม้หลากหลายประเภท โดยอาจแบ่งตามพฤกษศาสตร์ ตามปริมาณน้ำที่อยู่ในผักผลไม้ ตามองค์ประกอบ ตามแหล่งที่ปลูก ตามประโยชน์ ตามลักษณะที่นำมาประกอบอาหารหรือแปรรูป เป็นต้น ในแง่ของการศึกษาบรรจุภัณฑ์เพื่อปกป้องและรักษาคุณภาพของผักและผลไม้ จะแบ่งประเภทของผักผลไม้ตามอัตราการหายใจ (Respiration Intensity) เพื่อพยายามรักษาคุณภาพของผักและผลไม้เพื่อยืดอายุให้สดพอดี ในขณะที่นำมารับประทาน

ในประเทศไทยมูลค่าโดยรวมของพืชผักผลไม้ที่ปลูกเมื่อเทียบกับผลผลิตทางการเกษตรโดยรวม (Agricultural Commodities) คิดเป็นเปอร์เซ็นประมาณ 20% จัดอยู่ในอันดับ 2 ของผลผลิตทางการเกษตร โดยเป็นรองเพียงแต่ข้าวที่มีสัดส่วนมูลค่าคิดได้ประมาณ 30% ของผลผลิตทางการเกษตรโดยรวม2

แต่ถ้ามองจากการส่งออกสินค้าจำนวนพวกผลไม้มีปริมาณการส่งออกสูงในช่วงปี พ.ศ. 2541 – 2543 มีอัตราเฉลี่ต่อปีเพิ่มสูงถึง 30% และประเมินว่าในปีนี้จะมีมูลค่าการส่งออกของผลไม้สูงถึง 9 พันล้านบาท สำหรับผักผลไม้สดยังมีการส่งออกน้อยกว่า แม้ว่าจะมีผลผลิตโดยรวมในปี พ.ศ.2538 – 2539 เกือบ 5 ล้านบาทต่อปี3 ในกรณีที่ต้องการส่งเสริมการส่งออกของผักสดจำต้องรณรงค์การปลูกผักที่ปลอดสารพิษ พร้อมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม รวมทั้งปรับปรุงระบบบรรจุภัณฑ์ให้ดีขึ้นเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้า

ผักและผลไม้ที่จำแนกเป็นประเภทเมืองร้องนี้ไม่สามารถปลูกในประเทศที่หนาวเย็นในแถบยุโรปและอเมริกาเหนือ จึงจำเป็นต้องนำเข้าจากประเทศที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร สืบเนื่องจากระยะทางที่เดินทางไกล ความสำเร็จในการส่งออกนอกเหนือจากการใช้เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวแล้ว บรรจุภัณฑ์ยังมีบทบาทมากต่อการยืดความสดของผักผลไม้ด้วยการควบคุมบรรยากาศภายในบรรจุภัณฑ์ให้ปริมาณของออกซิเจนต่ำ นอกจากนี้ความจำเป็นที่ต้องขนส่งภายใต้สภาวะการเก็บที่เย็นจะช่วยลดอัตราการหายใจของสินค้าสดเหล่านี้

เมื่อผู้บริโภคในโลกนี้มีความต้องการเพิ่มมากขึ้นและพยายามแสวงหาอาหารใหม่ๆที่มีรสชาติและคุณประโยชน์มารับประทาน ตัวอย่างเช่น ผลไม้ที่ไม่เคยบริโภคในอดีตและเริ่มได้รับความนิยมในหมู่คนไทย เช่น แก้วมังกร ผลกีวี เป็นต้น ความต้องการของผักผลไม้สดเหล่านี้ส่งผลให้การขนส่งผักผลไม้สดไปยังประเทศที่ห่างไกลเพิ่มมากขึ้นเรื่อย และไม่แปลกเลยที่ค่าขนส่งมีมูลค่ามากกว่าตัวสินค้าผักผลไม้สด ด้วยเหตุนี้การกำหนดมาตรฐานต่างๆ (Standardization) มีความจำเป็นมากขึ้น เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายการขนส่งและลดโอกาสที่สินค้าจะเสียหายระหว่างการขนส่ง สำหรับผู้ส่งออกมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้าใจถึงลักษณะและวิธีการขนส่ง รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ ขนาดบรรจุ รูปแบบบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ครอบคลุมไปถึงกฎข้อบังคับที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์

Posted in สินค้าและบริการ | Tagged | Comments Off on บรรจุภัณฑ์ผักและผลไม้สดเพื่อการส่งออก

โอกาสและอุปสรรคของการตลาดผักและผลไม้ไทยในอาเซียน


อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2015 ซึ่งจะมีผลให้มีการเปิดเสรีด้านการค้า บริการ และการลงทุน เช่น ลดภาษีระหว่างกันให้เหลือศูนย์ ยกเลิกข้อจำกัดการประกอบการค้าบริการ และปฏิบัติเยี่ยงคนในชาติต่อนักลงทุนอาเซียนนั้น การรวมตัวดังกล่าวจะส่งผลให้ตลาดภายในประชาคมเปิดกว้างสำหรับสินค้าจากประเทศสมาชิกซึ่งรวมถึงสินค้าเกษตร เช่น ผักและผลไม้

ประเทศไทยอาจมีข้อได้เปรียบหรือเสียเปรียบในการส่งออก และ/หรือนำเข้าผลไม้ระหว่างประเทศอาเซียน ซึ่งยังมีรายละเอียดของกฎระเบียบข้อบังคับตลอดจนวัฒนธรรมในประเทศสมาชิกอีกมากที่จะส่งผลต่อการได้เปรียบหรือเสียเปรียบ นอกจากนั้นการเปิดเสรีด้านการลงทุน จะทำให้นักลงทุนทั้งไทยและอาเซียนเข้าไปลงทุนในประเทศสมาชิก และส่งสินค้ากลับไปขายในประเทศของตัวเอง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเกษตรกรในประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันต่ำ ยิ่งไปกว่านั้นอาจมีการปลอมหรืออ้างชื่อสินค้าของแต่ละประเทศเพื่อโอกาสในการค้า จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยถึงโอกาสและอุปสรรคต่าง ๆ ของไทยให้ทันต่อการรวมตัว

การเปิดการค้าเสรีระหว่างไทยกับจีน ในกรอบข้อตกลงสินค้าเกษตรประเภทผลไม้ แม้ว่าจีนจะอนุญาตให้นำเข้าผลไม้จากประเทศไทยได้ 23 ชนิด ก็ตาม แต่จีนก็ยังมีมาตรการ ทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTB) ซึ่งเข้มงวด เช่น ภาษีของแต่ละมณฑล การตรวจสอบคุณภาพ มาตรฐานด้านสุขอนามัยโรคพืชและแมลง

ลำไยซึ่งถือเป็นผลไม้ไทยที่มีศักยภาพในการส่งออกไปจีนมากที่สุด ในขณะนี้ ก็ยังประสบปัญหาในเรื่องสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด นอกจากนั้นผลไม้ไทยที่ส่งไปขายในจีนส่วนใหญ่ทำการค้าภายใต้กลไกที่ผู้ประกอบการจีนเป็นผู้กำหนด ในขณะที่การนำเข้าผลไม้จากจีนเข้าประเทศไทยเป็นไปอย่างเสรีตลอดเส้นทางการตลาด การลดภาษีภายใต้ FTA ไทย-จีน จึงให้ประโยชน์กับประเทศไทยไม่มากเท่าที่ควร การวิจัยเพื่อวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคจากการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะกระทบต่อเกษตรกรและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับผักและผลไม้ของไทย โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

1. เพื่อให้ทราบช่องทางตลาดผักและผลไม้ของประเทศอาเซียนที่เป็นคู่ค้าหลัก
2. เพื่อให้ทราบข้อจำกัด โอกาสการนำเข้า/ส่งออก การลงทุนต่างๆ นอกเหนือจากภาษีนำเข้าที่จะลดเป็นศูนย์ในปี 2558 ต่อการส่งออก/นำเข้าผักผลไม้ไทยไปประเทศอาเซียน
3. เพื่อคาดการณ์ผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบแก่เกษตรกรผู้ปลูกผักและผลไม้ไทย
4. เพื่อให้ได้คำแนะนำสำหรับเกษตรกรและผู้ประกอบการไทย เพื่อปรับตัวให้ทันในปี 2558

Posted in สินค้าและบริการ | Tagged | Comments Off on โอกาสและอุปสรรคของการตลาดผักและผลไม้ไทยในอาเซียน

ในปัจจุบันการส่งออกสินค้าประเภทผลไม้ได้รับความนิยมอย่างมาก

เดิมไทยเริ่มมีการขยายการส่งออกน้ำผักผลไม้ไปยังอาเซียนก่อนที่จะมีการปรับลดอัตราภาษีนำเข้าในปี 2553 แต่ยังมีมูลค่าการส่งออกไม่มากนักเมื่อเทียบกับประเทศส่งออกหลักอื่นๆ แต่จะเห็นได้ว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 นี้ ไทยสามารถส่งออกน้ำผักผลไม้ไปยังตลาดอาเซียนได้มากขึ้นเกือบทุกประเทศ (ยกเว้นมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน) ซึ่งปัจจัยที่ทำให้น้ำผักผลไม้ของไทยสามารถขยายการส่งออกไปยังตลาดอาเซียนได้เพิ่มขึ้นนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า นอกจากสภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจแล้ว ผลจากการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน ที่มีการปรับลดอัตราภาษีนำเข้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา ส่งผลต่อการส่งออกน้ำผักผลไม้ของไทยไปยังอาเซียนโดยมีรายละเอียดดังนี้

อาเซียนเดิมส่วนใหญ่จะมีการปรับลดอัตราภาษีนำเข้าเหลือร้อยละ 0 มาก่อนหน้านี้แล้ว จึงไม่ค่อยมีผลกระทบต่อการส่งออกของไทยมากนัก อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมามีเพียงอินโดนีเซีย และสิงคโปร์ที่มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นอาเซียนใหม่ (ลาว พม่า กัมพูชา และเวียดนาม) ซึ่งเป็นประเทศในกลุ่มสมาชิกใหม่ที่เริ่มมีการทยอยปรับลดอัตราภาษีนำเข้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา แต่ยังคงมีการเก็บภาษีนำเข้าไม่เกินร้อยละ 5 ซึ่งจากการปรับลดอัตราภาษีนำเข้าลง ทำให้ต้นทุนในการส่งออกน้ำผักผลไม้ของไทยลดลง ส่งผลให้ไทยมีโอกาสที่จะขยายการส่งออกน้ำผักผลไม้ไปยังตลาดกลุ่มนี้มากขึ้น โดยจะเห็นได้จากในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 ไทยสามารถส่งออกน้ำผักผลไม้ไปยังประเทศเหล่านี้มากขึ้น โดยมีอัตราการขยายตัวอยู่ระหว่างร้อยละ 67-130

หากพิจารณาการส่งออกน้ำผักผลไม้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 แยกรายประเภท พบว่า ไทยส่งออกน้ำผักผลไม้อื่นๆไปยังอาเซียนมากที่สุดคิดเป็นมูลค่า 10.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 83.1 หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 46.0 ของมูลค่าการส่งออกน้ำผักผลไม้ไปยังอาเซียน รองลงมา ได้แก่ น้ำผักผลไม้ผสม น้ำส้มชนิดออเร้นจ์ น้ำส้มชนิดอื่นๆ และน้ำสับปะรด ตามลำดับจะเห็นได้ว่า การส่งออกน้ำผักผลไม้ประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากน้ำสับปะรดของไทยไปยังอาเซียนยังมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรที่จะใช้โอกาสจากการปรับลดอัตราภาษีนำเข้า และหันมาขยายการส่งออกน้ำผักผลไม้ประเภทอื่นๆ ในตลาดอาเซียนให้มากขึ้น

Posted in สินค้าและบริการ | Comments Off on ในปัจจุบันการส่งออกสินค้าประเภทผลไม้ได้รับความนิยมอย่างมาก

อุตสาหกรรมการจำหน่ายผลไม้

ผลไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญประเภทหนึ่งของไทย โดยผลไม้สามารถทำรายได้เข้าประเทศปีละหลายพันล้านบาท และผลไม้ไทยยังเป็นที่นิยมบริโภคกันทั่วไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ ความต้องการบริโภคผลไม้นับวันจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องมาจากสาเหตุหลักคือจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นและความสนใจในสุขภาพก็มีมากขึ้นด้วย ในการผลิตผลไม้ถือได้ว่าไทยเป็นประเทศที่มีสภาพพื้นที่และภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการผลิตผลไม้เมืองร้อนหลากหลายชนิด ตั้งแต่ภาคเหนือจนถึงภาคใต้ ส่วนฤดูกาลให้ผลผลิตผลไม้แต่ละชนิดก็ยังแตกต่างกันไปในแต่ละสภาพพื้นที่ของแต่ละภาค จึงเป็นข้อดีประการหนึ่งที่ส่งผลให้ไทยมีผลไม้หลากหลายชนิดหมุนเวียนออกสู่ตลาดตลอดทั้งปี

ผลไม้นับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญประเภทหนึ่งของประเทศไทย โดยผลไม้สามารถทำรายได้เข้าประเทศปีละหลายพันล้านบาท และผลไม้ไทยยังเป็นที่นิยมบริโภคกันทั่วไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ ความต้องการบริโภคผลไม้นับวันจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องมาจากสาเหตุหลักคือจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นและความสนใจในสุขภาพก็มีมากขึ้นด้วย ในการผลิตผลไม้ถือได้ว่าไทยเป็นประเทศที่มีสภาพพื้นที่และภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการผลิตผลไม้เมืองร้อนหลากหลายชนิด ตั้งแต่ภาคเหนือจนถึงภาคใต้ ส่วนฤดูกาลให้ผลผลิตผลไม้แต่ละชนิดก็ยังแตกต่างกันไปในแต่ละสภาพพื้นที่ของแต่ละภาค จึงเป็นข้อดีประการหนึ่งที่ส่งผลให้ไทยมีผลไม้หลากหลายชนิดหมุนเวียนออกสู่ตลาดตลอดทั้งปี

ไทยมีการผลิตผลไม้มาเป็นเวลาช้านาน ทำให้ผลไม้เป็นสินค้าสำคัญประเภทหนึ่งของประเทศ โดยในปี 2544 ไทยมีการปลูกผลไม้มากเป็นอันดับที่ 17 ของโลก ด้วยปริมาณ 7.56 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 1.62 ของปริมาณการผลิตผลไม้ทั้งหมดในโลก และเป็นอันดับที่ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากฟิลิปปินส์ (ตารางที่ 1) นอกจากนี้ ไทยยังมีการผลิตทุเรียนและลำไยมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก รวมถึงยังเป็นประเทศซึ่งมีการผลิตผลไม้เมืองร้อนที่มีความหลากหลายประเทศหนึ่งของโลกด้วย โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ไทยมีปริมาณการผลิตผลไม้รวมเพิ่มขึ้นจาก 6.38 ล้านตันเป็น 7.56 ล้านตัน หรือคิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.50 ซึ่งจะเห็นได้ว่า ไทยมีการผลิตผลไม้เพิ่มขึ้นไม่มากเท่าที่ควร และปริมาณการผลิตในแต่ละปีก็ค่อนข้างมีความผันผวนสูงมากด้วย

Posted in สินค้าและบริการ | Tagged | Comments Off on อุตสาหกรรมการจำหน่ายผลไม้

การผลิตและส่งออกสินค้าประเภทผลไม้ไทยไปสู่ประเทศอาเซียน

15

ตามที่อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2015 ซึ่งจะมีผลให้มีการเปิดเสรีด้านการค้า บริการ และการลงทุน เช่น ลดภาษีระหว่างกันให้เหลือศูนย์ ยกเลิกข้อจำกัดการประกอบการค้าบริการ และปฏิบัติเยี่ยงคนในชาติต่อนักลงทุนอาเซียนนั้น การรวมตัวดังกล่าวจะส่งผลให้ตลาดภายในประชาคมเปิดกว้างสำหรับสินค้าจากประเทศสมาชิกซึ่งรวมถึงสินค้าเกษตร เช่น ผักและผลไม้ ประเทศไทยอาจมีข้อได้เปรียบหรือเสียเปรียบในการส่งออก และ/หรือนำเข้าผลไม้ระหว่างประเทศอาเซียน ซึ่งยังมีรายละเอียดของกฎระเบียบข้อบังคับตลอดจนวัฒนธรรมในประเทศสมาชิกอีกมากที่จะส่งผลต่อการได้เปรียบหรือเสียเปรียบ นอกจากนั้นการเปิดเสรีด้านการลงทุน จะทำให้นักลงทุนทั้งไทยและอาเซียนเข้าไปลงทุนในประเทศสมาชิก และส่งสินค้ากลับไปขายในประเทศของตัวเอง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเกษตรกรในประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันต่ำ ยิ่งไปกว่านั้นอาจมีการปลอมหรืออ้างชื่อสินค้าของแต่ละประเทศเพื่อโอกาสในการค้า จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยถึงโอกาสและอุปสรรคต่าง ๆ ของไทยให้ทันต่อการรวมตัวดังกล่าว  ในอดีตมีตัวอย่างของการเปิดการค้าเสรีระหว่างไทยกับจีน ในกรอบข้อตกลงสินค้าเกษตรประเภทผลไม้ แม้ว่าจีนจะอนุญาตให้นำเข้าผลไม้จากประเทศไทยได้ 23 ชนิด ก็ตาม แต่จีนก็ยังมีมาตรการ ทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTB) ซึ่งเข้มงวด เช่น ภาษีของแต่ละมณฑล การตรวจสอบคุณภาพ มาตรฐานด้านสุขอนามัยโรคพืชและแมลง

ลำไยซึ่งถือเป็นผลไม้ไทยที่มีศักยภาพในการส่งออกไปจีนมากที่สุด ในขณะนี้ ก็ยังประสบปัญหาในเรื่องสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด นอกจากนั้นผลไม้ไทยที่ส่งไปขายในจีนส่วนใหญ่ทำการค้าภายใต้กลไกที่ผู้ประกอบการจีนเป็นผู้กำหนด ในขณะที่การนำเข้าผลไม้จากจีนเข้าประเทศไทยเป็นไปอย่างเสรีตลอดเส้นทางการตลาด การลดภาษีภายใต้ FTA ไทย-จีน จึงให้ประโยชน์กับประเทศไทยไม่มากเท่าที่ควร ดังนั้น ฝ่ายเกษตร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย จึงเห็นสมควรสนับสนุนโครงการวิจัยเพื่อวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคจากการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะกระทบต่อเกษตรกรและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับผักและผลไม้ของไทยนอกจากนี้ภาครัฐของประเทศเวียดนามก็มีความเข้มแข็งและนโยบายชัดเจน มีการวางแผนการผลิตและสนับสนุนการเข้าสู่ระบบ GAP ในขณะที่ภาครัฐของประเทศไทยไม่มีการสนับสนุนอย่างจริงจังและไม่มียุทธศาสตร์เพื่อการแข่งขัน ขาดการรวมตัวกัน

Posted in สินค้าและบริการ | Tagged | Comments Off on การผลิตและส่งออกสินค้าประเภทผลไม้ไทยไปสู่ประเทศอาเซียน

กลยุทธ์การผลิต การตลาดผลไม้ไทย

กลยุทธ์การผลิต การตลาดผลไม้และแนวทางการแก้ไขปัญหาผลไม้ทั้ง 3 ชนิดได้แก่ ทุเรียน มังคุด และเงาะ ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของทางภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศไทย โดยผลผลิตของผลไม้ทั้ง 3ชนิดรวมกันในแต่ละปีมีมากกว่า 1,000,000ตัน และสามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรปีละประมาณ 10,000 – 20,000 ล้านบาท ทั้งนี้ผลจากการศึกษาพบว่า ปัญหาการผลิตผลไม้ที่สำคัญของประเทศไทยในส่วนของทุเรียน มังคุด และเงาะ ได้แก่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ด้านการบริหารจัดการดูแลสวนเพื่อให้ได้ผลผลิตมีคุณภาพดี มีเกรดและขนาดตรงกับความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในคุณภาพผลผลิตของผู้บริโภค ประกอบกับต้นทุนการผลิตมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าปัจจัยการผลิต เช่น ค่าปุ๋ยเคมีและยากำจัดศัตรูพืช ทำให้เกษตรกรมีภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดการสวนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การขาดแคลนแรงงานในการเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหายเนื่องจากเก็บเกี่ยวไม่ทัน และค่าแรงงานในการเก็บเกี่ยวก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทำให้ไม่คุ้มค่าหากต้องเก็บเกี่ยวผลผลิตขายในช่วงที่ราคาตกต่ำ นอกจากนี้เกษตรกรยังประสบปัญหาโรคและแมลงรบกวน ขาดแคลนแหล่งน้ำและเงินทุนในการพัฒนาแหล่งน้ำ สำหรับปัญหาด้านการแปรรูป ได้แก่ สถาบันเกษตรกรยังขาดอุปกรณ์และเทคโนโลยีในการแปรรูปผลผลิต การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ทำให้การแปรรูปผลไม้ส่วนใหญ่เป็นการแปรรูปขั้นต้นและดำเนินการโดยกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร สหกรณ์และวิสาหกิจชุมชน ยังขาดการรับรองมาตรฐานการผลิตซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็น นอกจากนี้สถาบันเกษตรกร/วิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในการบริหารจัดการ การจัดจำหน่ายผลผลิตและการตลาดผลไม้แปรรูป สำหรับปัญหาด้านการตลาดที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาราคาที่เกษตรกรขายได้มีราคาตกต่ำในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก สถาบันเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรไม่มีตลาดรองรับปลายทาง เนื่องจากขาดระบบการกระจายสินค้าที่มีประสิทธิภาพ พ่อค้าเป็นผู้กำหนดราคาและประเมินคุณภาพผลผลิต ทำให้เกษตรกรประสบปัญหาถูกกดราคาจากพ่อค้า นอกจากนี้ผลไม้มีระยะเวลาในการวางจำหน่ายที่จำกัด เนื่องจากเน่าเสียง่ายและมีอายุการเก็บรักษาสั้นเกษตรกรจึงมีอำนาจต่อรองน้อย

จากปัญหาและอุปสรรคด้านต่างๆที่เกี่ยวกับผลไม้รวมทั้งการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจผลไม้ของประเทศไทยและคู่แข่งขัน นำมาสู่การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของผลไม้ไทย โดย มีจุดแข็ง คือ ประเทศไทยมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยในการเพาะปลูกทุเรียน มังคุด และ เงาะ ได้ในหลายพื้นที่ โดยมีแหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคใต้ และเป็นศูนย์กลางการคมนาคม ขนส่ง ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ผลไม้ไทยยังเป็นที่รู้จักกันอย่างดีของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ มีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตผลไม้นอกฤดูอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันสามารถผลิตทุเรียนนอกฤดูและกำลังศึกษาวิจัยในมังคุด นอกจากนั้นยังมีคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ซึ่งทำหน้าที่กำหนดยุทธศาสตร์ผลไม้ รวมทั้งแก้ไขปัญหาต่างๆทั้งในด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาด อย่างเป็นระบบครบวงจร สำหรับจุดอ่อน คือ ผลไม้มีปริมาณและคุณภาพไม่แน่นอนในแต่ละปี และออกสู่ตลาดพร้อมกันในลักษณะกระจุกตัว เน่าเสียง่าย ประกอบกับสถาบันเกษตรกรยังขาดความรู้ด้านการบริหารจัดการ เงินทุนและเทคโนโลยีในการแปรรูปผลไม้ และการส่งออกผลไม้ยังพึ่งพาตลาดจีนเป็นหลักเพียงประเทศเดียว สำหรับโอกาสคือ ปัจจุบันประเทศไทยมีการลงนามในข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) กับหลายประเทศ เช่น FTA ไทย-จีน, FTA อาเซียน-จีน, AFTA และ JTEPA ซึ่งมีผลทำให้ภาษีนำเข้าผลไม้ลดลงหรือเป็นศูนย์ จึงมีโอกาสขยายมูลค่าการส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ได้มากขึ้น รวมทั้งมีการพัฒนาเส้นทางคมนาคมทางบกไปยังประเทศจีนและประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งทำให้สามารถขนส่งผลไม้ไปยังประเทศจีนได้รวดเร็วขึ้น และส่งออกผลไม้ผ่านการค้าชายแดนได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูป การยืดอายุผลไม้โดยบรรจุภัณฑ์เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการขนส่งอย่างต่อเนื่อง เช่น เงาะในถุงสุญญากาศ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์แบบ Fresh chill เป็นต้น สำหรับอุปสรรค ได้แก่ การค้าขายผลไม้กับประเทศจีนเป็นระบบฝากขาย (Consignment)ผู้ส่งออกเป็นผู้รับความเสี่ยงด้านความผันผวนของราคาและผู้นำเข้าผลไม้ในประเทศจีนต้องมีใบอนุญาตการนำเข้า (Import license) ผู้ส่งออกไทยไม่สามารถตั้งร้านจำหน่ายผลไม้ของตนเองในประเทศจีนได้ถ้าไม่มีใบอนุญาต

Posted in สินค้าและบริการ | Tagged | Comments Off on กลยุทธ์การผลิต การตลาดผลไม้ไทย

ผักและผลไม้ นับเป็นสินค้าส่งออกที่ทำรายได้ให้กับประเทศอย่างมหาศาล

ผักและผลไม้ นับเป็นสินค้าส่งออกที่ทำรายได้ให้กับประเทศอย่างมหาศาล โดยในแต่ละปีไทยมียอดการส่งออกผัก ผลไม้ ทั้งรูปของสด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง รวม 3-4 หมื่นล้านบาทต่อปี และมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 15-20% ซึ่งเป็นเพราะผลผลิตผักผลไม้ของไทยมีความหลากหลาย และต่อเนื่องตลอดปี ทำให้มีความได้เปรียบด้านประเภทสินค้า และมีความยืดหยุ่นด้านปริมาณการส่งออก ทั้งยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ รสชาติดีเป็นที่นิยม และได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคในต่างประเทศ

ทั้งนี้ ตลาดส่งออกที่สำคัญของสินค้าผักและผลไม้ไทย ได้แก่ จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนรวม 79% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ขณะเดียวกันก็มีตลาดอื่นที่มีอัตราการขยายตัวสูง เช่น พม่า ที่ตลาดมีการขยายตัวถึง 45% และเกาหลีใต้ ที่ตลาดมีการขยายตัวอยู่ที่ 20%

ในส่วนของตลาดจีน แม้ว่าปัจจุบันจีนจะมีฐานะเป็นประเทศคู่แข่งในตลาด ผักและผลไม้ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นผู้บริโภครายใหญ่ และหลายมณฑลยังเป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้าอีกด้วย โดยผลไม้ที่ได้รับความนิยมในจีน ได้แก่ ลำไย มังคุด ทุเรียน กล้วยไข่ เงาะ รวมถึงมะม่วง และชมพู่ ซึ่งมีวางจำหน่ายอยู่ทั่วไปตั้งแต่ในซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ไปจนถึงร้านขายผลไม้ขนาดเล็ก

นอกเหนือจากตลาดในจีนและอาเซียนแล้ว ผักและผลไม้ของไทยยังได้รับความนิยมในตลาดอาหรับ เช่น คูเวต บาห์เรน และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ด้วยเนื่องจากผลไม้ไทย เช่น มะม่วง เงาะ มังคุด เป็นที่นิยม และที่รู้จักของผู้บริโภคท้องถิ่นประกอบกับไม่สามารถหาสินค้าพื้นเมืองทดแทนได้ และในบางประเทศมีภูมิอากาศแห้งแล้งไม่สามารถเพาะปลูกได้ จึงส่งผลให้มีความต้องการนำเข้าผักและผลไม้อย่างต่อเนื่อง

ในตลาดยุโรป เช่น กรีซ และ สวิตเซอร์แลนด์ สับปะรดแห้ง และสับปะรดแช่อิ่ม จากไทยได้รับความนิยมค่อนข้างสูง เนื่องจากมีคุณภาพ และรสชาติดี แต่เนื่องจากสับปะรดนำเข้าจากไทยมีราคาสูงกว่าที่นำเข้าจากภูมิภาคอเมริกาใต้ หรือแอฟริกา จึงทำให้ส่วนแบ่งตลาดในสวิตเซอร์แลนด์ ยังไม่มากนัก

สำหรับตลาดในสหรัฐอเมริกานั้น ผลไม้ไทยที่เป็นที่ต้องการของตลาดสหรัฐอเมริกา ฝั่งตะวันตก ได้แก่ มังคุด, ลำไย และเงาะ ขณะที่ตลาดในรัฐแคลิฟอร์เนีย และรัฐใกล้เคียงมีความต้องการบริโภคมะม่วงที่สูงมาก นอกจากนี้ มะพร้าวอ่อนน้ำผลไม้กระป๋องเพื่อสุขภาพ เช่น น้ำลำไย, น้ำมังคุด หรือน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพจากโครงการหลวง ก็มีการส่งไปจำหน่ายในสหรัฐฯ เช่นกัน และมีศักยภาพที่จะขยายตัวได้ แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าที่ควร ส่วนมะม่วงจากไทยยังไม่สามารถแข่งขันกับมะม่วงจากเม็กซิโกได้ เนื่องจากต้นทุนค่าขนส่งทางอากาศที่สูงและคุณภาพมะม่วงที่ไม่มีความทนทานกับการขนส่งที่ใช้เวลาทางเรือได้

ในภาพรวมการส่งออกผักและผลไม้ของไทยยังมีปัญหา และอุปสรรคที่สำคัญคือเรื่องความแปรปรวนของสภาพอากาศที่กระทบต่อการผลิต พื้นที่เพาะปลูกมีขนาดเล็กทำให้ต้นทุนการจัดการ และควบคุมคุณภาพการผลิตมีราคาสูงกว่าประเทศคู่แข่ง เช่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย รวมถึงขาดระบบขนส่ง และโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ตลาดส่งออกหลายแห่งยังมีการออกกฎระเบียบที่ทำให้การส่งผักและผลไม้ไปจำหน่ายทำได้ยากขึ้น เช่น สหภาพยุโรปที่มีการออกกฎระเบียบให้มีการตรวจสินค้าผักไทย เพื่อตรวจยาฆ่าแมลงตกค้าง การปนเปื้อนทางจุลชีววิทยา และแมลงศัตรูพืชอย่างเข้มงวด เป็นต้น

Posted in สินค้าและบริการ | Tagged | Comments Off on ผักและผลไม้ นับเป็นสินค้าส่งออกที่ทำรายได้ให้กับประเทศอย่างมหาศาล